วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นี่หรือ ภูมิใจมหาดไทย โดย นายอำเภอแหวนเพชร

นี่หรือ ภูมิใจมหาดไทย โดย นายอำเภอแหวนเพชร

ผมดูทีวีเมื่อ 30 กันยายน 2553 ได้ฟังมท2 ตอบกระทู้สด เรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการแล้ว อด แสดงความคิดเห็นไม่ได้

1. ประเด็นที่ มท.2 ได้ตอบกระทู้สดแยกได้ 3 เรื่อง คือ
    เรื่องการซื้อขายตำแหน่ง เรื่องการแต่งตั้งผู้ว่า
      ราชการจังหวัด และ
      เรื่องการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด
    ว่าทั้ง 3 เรื่อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ไว้ใครไม่พอใจก็ไปร้ององค์กรต่างๆ ที่จัดตั้งได้ เข้าตำราขายสินค้าราคาแบบนี้ ใครซื้อไม่พอใจก็ไปร้อง เอาล่ะกัน

2.อยากมองความเห็นสวนกับ มท.2 ว่า

ในเรื่องซื้อขายตำแหน่งที่ท่านบอกว่าเป็นเรื่องไม่จริงพูดกันมานานแล้วผมอยากถามท่านด้วยความเคารพ ตรงนี้ว่า ท่านเป็น มท.2 ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นไม่รู้จริงๆ หรือว่ามีการซื้อชายตำแหน่งใน มท.2 ถ้าใช่ผมจะ เสนอให้ท่านไปเป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบงานพระพุทธศาสนา

เรื่องซื้อขายตำแหน่งอย่าได้พูดถึงเรื่องใบเสร็จยากที่จะหาได้ ในหลักการหน่วยงานบางแห่งในการ วินิจฉัยคดีเช่น กกต.เขารู้ว่ายากแก่การหาหลักฐานที่เป็นใบเสร็จ ดังนั้นความผิดหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เขาจึงใช้คำว่า มีเหตุผลอันเชื่อได้ว่า ก็วินิจฉัยไปได้ ทั้งนี้ เพื่อใช้หลักป้องกันความเสียหาย

ในเรื่องกระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถท่านอธิบายเรื่องนี้ว่า กระทรวงจะถือหลักความรู้ความสามารถตามที่ ก.พ.กำหนด ส่วนเรื่องความอาวุโสนั้นเป็นลำดับท้าย ท่าน เอาหลังพิงโดยอ้าง ก.พ.

เรื่อง ก.พ.นี้ ผมว่าเป็นหน่วยงานที่ล้าหลังอยากจะถามว่าในปีนี้มาเคร่งครัดกฎ ระเบียบ เช่น จะต้องให้มีผู้คัด เลือกเป็นจำนวนกี่เท่าของตำแหน่งว่างทำให้เกิดการวุ่นวายแต่ถามว่าเมื่อปี 2551 2552 ซึ่งเป็นปีที่หลัง จากการประกาศใช้ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบันทำไมไม่แหกปากในประเด็นดังกล่าวเสียตอนนั้น อันนี้ก็ไม่มีคำตอบของ ก.พ.ต่อสาธารณชน

ประเด็นที่ท่าน ตอบอ้างหลักในด้านความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ คนที่มาดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดได้นั้นย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเท่ากัน ท่านจะเอาอะไรมาวัดว่าความรู้ความสามารถไม่เท่ากัน เพราะเวลาจะโยกย้ายใครไปที่ใดที่หนึ่งก็อ้างว่ามี ความรู้ความสามารถสำหรับที่นั้น ไม่เคยมีจังหวัดใดที่ว่างเว้นรองผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยเหตุที่ขาดผู้มี ความรู้ความสามารถสำหรับจังหวัด

ดังนั้น ตัวชี้วัดที่ มท.2 ควรจะให้เห็นเป็นประเด็นสำคัญ คือ เรื่อง ความประพฤติและประวัติรับราชการ 2 ตัวนี้ รวมกันแล้วก็คือหลักของความอาวุโสมากกว่านั้นเอง แต่ท่านกลับพูดว่าความอาวุโสไม่ใช่สิ่งสำคัญ อยู่ที่ ความรู้ความสามารถ ถ้าอย่างนั้นท่านต้องตอบสังคมว่าคนที่ได้รับการแต่งตั้งที่ท่านว่ามีความรู้ความสามารถ ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งในด้านความรู้ความสามารถอย่างไร

ก่อนจะตอบประเด็นนี้ ผมอยากให้ มท.2 ไปดูหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่กระทรวงมหาดไทยประกาศก่อนว่า คัดเลือกครั้งนี้มีเกณฑ์สำคัญอยู่ 5 ตัว คือ
    ข้อ 1.ความรู้และสมรรถนะทางการบริหาร 20 คะแนน
    ข้อ 2.ความสามารถในการบริหารจัดการ 20 คะแนน
    ข้อ 3.ประวัติรับราชการ 20 คะแนน (พิจารณาจากประสบการณ์ในการดำรง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด)
    ข้อ 4.ความประพฤติ 20 คะแนน(จากการประเมินของผู้บังคับบัญชา)
    ข้อ 5.จากคุณลักษณะจำเป็นต่อการปฏิบัติตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 20 คะแนน (โดยการ สัมภาษณ์)
จากหลักเกณฑ์ข้างต้น มท.2 ควรรับรู้ว่าใน ข้อ 1. และ ข้อ 2. ผู้เข้าคัดเลือกทุกคนย่อมมีคะแนนไม่แตก ต่างกันอาจเรียกได้ว่าได้คะแนนเท่ากันตัวที่จะมีการแตกต่างกันรองลงมาคือใน ข้อ 4. หากผู้บังคับบัญชา ประเมินไม่ดีเขาก็ไม่ผ่าน แต่อันนี้ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าคัดเลือกรับรู้จึงถือเป็นกรรมของผู้ที่เข้าคัดเลือก หากมีทัศนะคติ ลงหรือไม่ลงกับผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ประเมิน (ก.พ.ควรดูเรื่องนี้ด้วยเพราะแม้แต่การ ประเมินการปฏิบัติงานยังเปิดให้ผู้รับการประเมินรับทราบเพื่อชี้แจงแต่กรณีนี้ไม่มีโอกาส)

ในหลักเกณฑ์ข้อต่อมาในข้อ 5 ก็คงไม่แตกต่างกันทุกคนเพราะในการสัมภาษณ์ในระยะสั้นๆ ไม่มีข้อแตก ต่างเลย ซ้ำร้ายเรื่องการเขียนวิสัยทัศน์เชื่อได้เลยว่ากรรมการอ่านไม่ทั่วถึงหรือบางครั้งวิสัยทัศน์ผู้อ่านอาจ จะแย่กว่าผู้เข้าคัดเลือกด้วยซ้ำไป ข้อเสียหายในเรื่องวิสัยทัศน์ก็คือแม้รองผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีวิสัยทัศน์ ดีอย่างไร แต่มิใช่เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด คือ ผู้ว่าฯ จึงไม่เกิดประโยชน์

ดังนั้น เกณฑ์ที่จะพิจารณาคัดเลือกผู้เหมาะสมเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดได้ ที่จะมีข้อแตกต่างกันคือ ตาม เกณฑ์ ข้อ 3. คือ ประวัติการรับราชการเพราะเป็นตัวบ่งชี้ในเรื่องประสบการณ์ขีดความสามารถความทน ความเหนียวและความชำนาญการในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างข้อเปรียบเทียบชัดเจนในแต่ละคน คือ

    -- คนที่เป็นนายอำเภอมาก่อนย่อมมีประสบการณ์เหนือกว่าคนที่พึ่งเป็นนายอำเภอใช่หรือไม่?
    -- คนที่เป็นนายอำเภอมาหลายอำเภอควรมีประสบการณ์มากกว่าเป็นนายอำเภอเพียงหนึ่งหรือ สองอำเภอใช่หรือไม่?
    -- คนที่เติบโตมาจากปลัดจังหวัดย่อมมีประสบการณ์มากกว่าคนที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งปลัด จังหวัดหรือไม่?
    -- คนที่เป็นปลัดจังหวัดมาหลายแห่งย่อมมีประสบการณ์มากกว่าคนที่เป็นปลัดจังหวัดเพียงแห่ง เดียวหรือไม่?
    -- คนที่ปฏิบัติงานหลายพื้นที่ เช่น อยู่ภาคเหนือภาคใต้ภาคอีสานไปเรื่อยย่อมมีประสบการณ์เหนือ กว่าคนที่รับราชการหรือเติมโตมาในหนึ่งหรือสองจังหวัดใช่หรือไม่?
    -- คนที่เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดมาหลายจังหวัดย่อมีประสบการณ์มากกว่าผู้ที่อยู่เพียงจังหวัด เดียวใช่หรือไม่?
    -- คนที่เคยปฏิบัติหน้าที่ดีจนได้รับรางวัลปรากฏต่อสาธารณชนทั้งของกระทรวงมหาดไทยทั้ง ระดับประเทศ และระดับนานาชาติย่อมีประสบการณ์ดีกว่าผู้ที่เคยไม่ได้รับรางวัลนั้นใช่หรือไม่?

ตัวอย่างข้างต้นผมว่าสามารถให้คะแนนแก่คนที่เข้าสอบคัดเลือกได้เป็นอย่างดีว่าใครมีประสบการณ์ หรือมีความอาวุโสมากกว่ากันใครควรอยู่ก่อนใครควรอยู่หลัง แต่ถ้าใช้หลักเกณฑ์นี้มาจับแล้วเชื่อได้เลยว่าบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจะเป็นผู้ที่เติบโตมาตาม ครรลองไม่มีเส้นสายคนเหล่านี้จะมีเอกลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งคือความเชื่อมั่นในตนเองและไม่เคยเข้าหา นักการเมืองไม่มีเงินซื้อตำแหน่ง แต่เป็นสิ่งที่ฝ่ายการเมืองหรือสิ่งที่มท.2 ซึ่งในหมวกหนึ่งคือนักการเมือง ย่อมไม่อยากได้ เพราะไม่สามารถควบคุมหรือสั่งการได้ ข้อพิจารณาในหลักเกณฑ์เรื่องนี้ผมคิดว่าเป็น หัวใจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยที่ดูแลหลักการปกครองของประเทศ เพราะ ธรรมเนียมการปกครอง ตามจารีตประเพณีไทยตั้งแต่โบราณกาลจะถือหลักการพ่อปกครองลูกผู้อาวุโสจะปกครองผู้ด้อยอาวุโส พระเจ้าอาวาสจะปกครองดูแลเณร

นี่หรือ ภูมิใจมหาดไทย (๒)

ในธรรมเนียมการปกครองของไทยจังหวัดหนึ่งจะมีนายอำเภอดูแลอำเภอการแต่งตั้งนายอำเภอเมืองก็จะดู หรือแต่งตั้งนายอำเภอที่อาวุโสมาเป็นและการแต่งตั้งปลัดจังหวัดก็จะคัดเลือกนายอำเภอเมืองที่อาวุโสขึ้น มาเป็นการคัดเลือกรองผู้ว่าราชการจังหวัดเขาก็จะดูปลัดจังหวัดที่อาวุโส การจะแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เขาก็คัดเลือกรองผู้ว่าราชการที่อาวุโสมาก่อน การแต่งตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยก็จะคัดเลือก จากผู้ว่าราชการจังหวัดที่อาวุโส การแต่งตั้งแบบนี้จึงทำให้ผู้รับแต่งตั้งมีอำนาจในการสั่งการและการยอม รับในปฏิบัติซึ่งการและกันข้อขัดแย้งระหว่างข้าราชการปกครองก็จะไม่มีก็จะบังคับบัญชากันอย่างพี่น้อง ผล ประโยชน์จึงตกแก่ประชาชน กุศโลบายในเรื่องนี้ของกระทรวงมหาดไทยเพื่อรองรับให้ได้มีผู้อาวุโสที่ สมบูรณ์แบบและยอมรับกันโดยพฤตินัยก็คือ การใช้วิธีนำข้าราชการเหล่านี้ผ่านกระบวนการจากโรงเรียน นายอำเภอ และโรงเรียนนักปกครองระดับสูงซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญหากไม่มีความสามารถในระดับก็ยังไม่ เอาเข้าหลักสูตร ดั้งนั้นเมื่อจบหลักสูตรแล้วการแต่งตั้งจึงเป็นไปตามรุ่น

ท่าน มท.2 ครับ เดี๋ยวนี้ท่านลองลงมองดูกระทรวงมหาดไทย หลักนี้ศูนย์ไปหมดแล้วจึงปรากฏหลักการที่ สำคัญคือ ครั้งหนึ่งเคยเป็นลูกน้องนายอำเภอ เผลอแผล็บเดียวเป็นนายของนายอำเภอเข้าตำราเณร ปกครองสงฆ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ได้ความอยากได้ใคร่มีจึงเกิดขึ้นก่อให้เกิดกระบวนการวิ่งเข้าหาทหาร วิ่งเข้าหา พระผู้ใหญ่ วิ่งเข้าหานักการเมืองที่มีอำนาจ ที่สุดแล้วทั้งวิ่งทั้งจ่ายเงินเพื่อให้ได้มา อยากให้ท่าน มท.2 ได้ ย้อนกลับไปเมื่อครั้งได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวาย สัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าอย่างไร

ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้

“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และ ปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

ดังนั้นผมจึงถามว่าท่านมองเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการมหาดไทยในครั้งนี้เป็นไปตามสัตย์ปฏิญาณจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใดไม่มีใครรู้นอกจากตัวท่านเอง

ในเรื่องการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด ,มท.2 ตอบสภาผู้แทนราษฎรว่าเป็นไปตามกฎหมาย และความ เหมาะสม (ของพรรคที่บริหารกระทรวง)

ท่านไม่ได้ตอบถึงคุณธรรมจริยธรรมในการโยกย้ายท่านไปตอบในเรื่องหลักกฎหมายว่าผู้ว่าราชการจังหวัด ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 4 ปี อันนี้เป็นข้อกฎหมาย แต่ในบางกรณีเหตุใดจึงต่ออายุผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นปีที่ 5 เช่น ที่จังหวัดสุพรรณบุรีเพราะถ้าท่านใช้หลักความรู้ความสามารถแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นย่อมสามารถมา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีได้ หรือถ้าไม่มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนนี้จังหวัดจะเสียหายหรืออยู่ไม่ได้ ท่านถามประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีหรือท่านถามนักการเมืองในจังหวัดสุพรรณบุรี

ธรรมเนียมการปกครองที่เหมาะสมผู้ว่าราชการจังหวัดควรจะปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 3 ปี เพราะปีแรกมาใหม่ อาจยังคลำทางไม่ถูก ปีที่สองเริ่มวางแนวทางปฏิบัติ ส่วนปีที่สามเป็นห่วงปีเริ่มการพัฒนา หากอยู่เกิน 4 ปี แล้วก็จะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลได้ แต่การที่ปัจจุบันผู้ว่าราชการจังหวัดย้ายกันบ่อยจังหวัดหนึ่งในห้วง2-3ปี ใช้ผู้ว่าราชการจังหวัดเปลืองอยู่ 6-7 เดือนบ้างย้าย อยู่ 1 ปีบ้างย้าย อยู่ 1 ปีเศษบ้างย้าย ท่านได้เคยถาม ประชาชนหรือไม่ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายคือ ครม.ที่ให้ความเห็นชอบนั้นถือว่าทุกคนกำลังทำลายระบบ การปกครอง ธรรมจารีตประเพณีของไทยมาแต่เดิมเพียงเพื่อที่จะเอาคนของตนเองไปลงในพื้นที่ของตน เองเท่านั้น

มา ณ วันนี้ไม่ประกาศหลักเกณฑ์การวางระบบการโยกย้ายให้เป็นหลักการเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจเลิกพูด ได้แล้วครับว่าผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ได้ไม่เกิน 4 ปี อันนี้ต้องไปสอนเด็กประถมหนึ่ง

ในท้ายนี้มีคำถามง่ายๆ มีข้อสังเกตจากการแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการขึ้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเพราะบางท่า อ่อนอาวุโสกล่าว คือ

1. หลายท่านที่เป็นนักเรียนนายอำเภอ และ นปส. รุ่นแรกๆ ก่อนผู้ได้รับการแต่งตั้งแต่ไม่ได้รับการพิจารณา เช่น นายวรชัย อุดตมชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นอ.27,นปส.29 นายเกษม วัฒนธรรม รองผู้ว่า ราชการจังหวัดน่าน นอ.27,นปส.28 นายประวัติ รัฐิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นอ.27 นปส.29 นายสุรพล วิชัยดิษฐ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นปส. 30 นายชวลิต ธูปตาก้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี นปส.30 นายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหัวดยโสธร นปส.30 นายเฉลิมชัย เฟื่องคอนรอง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูล นปส. 30 นายประจักษ์จิต อภิวาท รองผู้ว่าราชการจังหวัดพนม นปส.30 นายฉลอ ใบเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด นอ.29, นปส.31 ฯลฯ

ผู้ได้รับการแต่งตั้งคราวนี้บางคน จบ นปส.รุ่น 35,37,38,39,40,และ 43 ถามว่าข้ามหัวเหล่านี้ไปได้อย่าง ไร

2. หลายคนที่ดำรงตำแหน่งระดับ 9 มานานนอกจากกลุ่มบนข้างต้นแล้ว เช่น นายวรการ ยกยิ่ง รองผู้ว่า ราชการจังหวัดเชียงใหม่ (รอง ผวจ. ปี 47) นายสุรชัย ศรีสารคาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (รอง ผวจ.ปี 48 ) นายเกียรติศักดิ์ มูลศาสตร์สาธร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม (รอง ผวจ.ปี 48) นาย แชน ชื่นศิวา รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท (รอง ผวจ.ปี 49) ฯลฯ

ผู้ได้รับการแต่งตั้งคราวนี้บางคนเป็นรองผู้ว่าฯ ปี 2550 ,2551 ก็มถามว่าข้ามหัวเหล่านี้ไปได้อย่างไร หรือ เพราะผู้ที่ไม่ได้รับแต่งตั้งไม่ใช่คนของประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย

หรือเพราะไม่ใช่นักเรียนเน.... นักเรียนโรงเรียน......สยาม หรือเพราะไม่ใช่เด็กเทพ....

อยากจะฝากข้อสังเกตตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ.กำหนดให้ท่านรัฐมนตรีและ ครม.ไปทำการบ้านต่อ ว่า

1.บุคคลใดในรายชื่อที่คณะกรรมการเสนอเหมาะสมให้ระบุความเหมาะสมที่จะได้รับแต่งตั้งพร้อมทั้งเหตุผล ของการตัดสินใจดังกล่าวแล้วให้เสนอให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนำเสนอ ครม.อนุมัติ

ผมจึงอยากรู้ว่าปลัดคิกคิกได้เสนอเหตุผลของแต่ละคนไว้ว่าอย่างไรถ้ายังไม่ได้ทำแม้ว่าเกษียณแล้ว รีบกลับไปคลองหลอดทำตอนค่ำๆ ก็ได้ เพื่อเขาตรวจสอบจะได้คิกคิกได้

อย่าลืมว่าคณะกรรมการจะต้องบันทึกหลักฐานของการตัดสินใจเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ผมก็ อยากดูอันนี้ และความประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

2.เมื่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดใช้ดุลพินิจเห็นว่าบุคคลใดในรายชื่อที่ปลัดกระทรวงเห็นว่าเหมาะสมแล้วให้ระบุ ความเหมาะสมที่ได้รับการแต่งตั้งพร้อมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจดังกล่าว

อันนี้อย่าลืมทำด้วยน่ะครับถ้ายังไม่ทำก็รีบทำเสีย เพราะอย่างไรศีล 5 ก็ขาดแล้ว /****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น