วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กำศรวลมหาดไทย หรือ อวิชชา ปรมาลาภา

กำศรวลมหาดไทย หรือ อวิชชา ปรมาลาภา

อวิชชา ปรมาลาภา = ความไม่รู้เป็นลาภอันประเสริฐ
อวิชชา ไม่ได้แปลว่างี่งั่ง หรือ โง่เง่าเต่าตุ่น นะครับ อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง หรือ รู้ผิดๆตามที่ ท่านป. ปยุตโต พรรณนา ไว้ดังนี้
1. ไม่รู้ในทุกข์
2. ไม่รู้ในทุกขสมุทัย
3. ไม่รู้ในทุกขนิโรธ
4. ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

กล่าวสั้นๆ คือไม่รู้ในอริยสัจจ์ 4 นั่นเป็น อวิชชา 4 +เข้าไปอีก 4 ก็เป็นอวิชชา 8 ดังนี้
5. ไม่รู้ในส่วนอดีต
6. ไม่รู้ในส่วนอนาคต
7. ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
8. ไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา

บุคคลตกอยู่ในความประมาท โลภ-โกรธ-หลง-และตัณหาทั้งปวงก็เพราะความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง
อวิชชาทั้ง 8 สามารถนำมาประยุกต์อธิบายการเมืองไทยที่เป็น “สมบัติผลัดกันชม”ได้เป็นอย่างดี

บทความนี้ ผมขอภาวนาใหกัลยาณมิตรของผม คืออดีตนายกฯอานันท ปันยารชุน และนพ.ประเวศ วะสี ได้อ่าน และนำไปคิดอย่างจริงจัง หากจะกล้านำไปถกกับนายกรัฐมนตรีด้วยก็ยิ่งดี

กัลยาณมิตรคนหนึ่งของท่านทั้งสอง เมื่อได้ดูรายการทีวีของ”คำผกากับคำรณ คุณะดิลก” แล้ว เกิดความบันดาลใจอย่างแรงจนอดเขียนไม่ได้:

I could not watch it in its entirety. As long as the Dok Thong camp continues to talk about killing from ONE side, it's no use arguing with them. Kamron should have declined to take part: he was bored stiff.

I am having similar feelings with both Khun Anand's and Moh Prawes's committees. Some of the members are known to be downright IMMORAL in their private lives: the media cannot distinguish between rogues and virtuous people, because the media themselves are filled with rogues.

ผมเองต้องสารภาพว่าเบื่อหรือ bored stiff กับสถานการณ์บ้านเมืองและพฤติกรรมของรัฐบาลเหลือเกิน และคิดว่าคงต้องทนอีกนาน เพราะรัฐบาลกำลังเพลิดเพลินดื่มด่ำอยู่กับอำนาจวาสนา และกำลังเผยแพร่

แพร่อวิชชาของท่านให้กับประชาชนและประเทศชาติอย่างเมามัน

ผมจึงอยากขอร้องคุณอานันท์กับหมอประเวศให้ช่วยนายกรัฐ มนตรีและประเทศชาติ โดยยกเอาโจทย์หรือการบ้านกระทรวงมหาดไทยมาแก้ด่วน

จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าท่านทั้งสามจะเข้าใจอริยสัจจ์ 4 และอิทัปปัจจยตาแห่งการเมืองไทยหรือไม่ และมองเห็นความเชื่อมโยงไหมว่าอะไรทำให้ท่านได้มานั่งอยู่ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ท่ามกลางความทุกข์ลำเค็ญของพี่น้องร่วมชาติทุกวันนี้

ก่อนอื่น ท่านจะต้องเข้าใจ “บุรีรัมย์โมเดล” และตระหนักด้วยว่าหากบุรีรัมย์โมเดลขยายไปทั่วประเทศ ไทยในวันหน้าก็จะไม่ต่างอะไรกับเขมรภายใต้ “ฮุนเซ็นโมเดล”

ฮุนเซ็นโมเดลเป็นอย่างไร กด google ดู Country For Sale กับ Cambodia’s Family Trees โดย Global Witness ได้ ส่วน Buriram Model ซึ่งคล้ายกันมากแต่ย่อส่วนเล็กลงมา หาจาก google ได้เพียงเล่มเดียว ชื่อ

Southeast Asian Affairs 2008 โดยTin Maung Maung Than
ตอนที่ Tin Maung เขียน เนวินยังมิได้ปราบดาภิเศก หากเขากลับมาวิจัยใหม่อาจพบว่าบุรีรัมย์โมเดลภายใต้เวชชาชีวุปถัมป์ครอบงำทุกกระทรวงสำคัญ อาจทำให้บุรีรัมย์โมเดลแซงฮุนเซ็นโมเดลไปแล้วก็ได้

แทนที่จะคอยพึ่งต่างชาติ ผมขอเสนอว่า

1.ให้คณะกรรมการปฏิรูป คณะกรรมการหรือกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลและวินิจฉัยว่ามีการแทรกแซงทำลายความเป็นกลางของข้าราชการมหาดไทยเพื่อผลทางการเมืองหรือไม่

2.ให้ประชาชนหรือองค์กรที่สนใจร้องเรียนและใช้สิทธิตามกฎหมายเสรีภาพข่าวสาร ขอดูข้อมูล สถิติและขั้นตอนที่นำมาสู่การตัดสินใจเรื่องการโยกย้ายแต่งตั้งและเลื่อนชั้นในกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่เจ้าหน้าที่ประจำ เจ้ากระทรวงจนถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี

3. ให้มีการคุ้มครองผู้ให้ปากคำซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ผู้ได้รับหรือเสียประโยชน์จากการแต่งตั้งแต่ละครั้ง อันนี้อาจนำไปสู่การสังคายนาปรับปรุงกระทรวงอย่างจริงจังครั้งใหญ่ได้

การวิเคราะห์ตามหลักอิทัปปัจจยตา

บุรีรัมย์โมเดล มีลักษณะดังนี้ 1. เขมือบงบทุกอย่าง 2. ใครขวางระวัง 3. โกงเลือกตั้งทุกระดับ 4. งุบงิบงับทรัพยากรชาติ 5. สามารถอุปถัมภ์ทุกกระทรวง

ขณะที่คอย ลองมาดูข้อมูลที่ทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านบุรีรัมย์โมเดลรู้ดี แต่ไม่มีใครเชื่อมโยงให้เห็น”ข้างหลังภาพ”หรือภาพที่แท้จริงเท่านั้น

ท่านมองไม่เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่าง ทักษิณ-เนวิน เนวิน-ศักดิ์สยาม-บุรีรัมย์-มานิต วัฒนเสน-การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ-การแต่งตั้งนายอำเภอเก้า 41 คนเป็นโมฆะ-การที่สำนักราชเลขาธิการส่งเรื่องแต่งตั้งปลัดกระทรวงคนใหม่กลับ-การรีบตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนการตั้งปลัดฯลฯ

ทั้งหมดนี้ ท่านมองไม่เห็นปัจจัยเขมรหรือบุรีรัมย์แฟคเตอร์ ซึ่งแม้แต่การวิเคราะห์ตามหลักวิชาสถิติก็จะเห็นความวิปริตอย่างมหันต์ ท่านมิได้ตรวจสอบผลที่ออกมาอย่างนี้ว่าอะไรเป็น necessary factor อะไรเป็น sufficient factor อะไรเป็นปัจจัยหรือตัวแปรหลัก อะไรเป็นตัวแปรรอง ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น

ท่านจึงไม่เห็นการเล่นพวกอย่างเป็นระบบและการกีดกันทำลายผู้ที่มิใช่พวกอย่างไร้คุณธรรม และไม่คำนึงถึงอนาคตของกระทรวงและของประเทศ

2010/10/1 Pramote Nakornthab

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น